แน่นอนที่สุด

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิธีเรียนเก่ง

วิธีเรียนเก่ง
หลวงตามีโอกาสได้ขึ้นมาบรรยายธรรม  เรื่องที่จะพูดก็เป็นหัวข้อเรื่องที่ครูอาจารย์และนักศึกษาคงอยากจะได้ฟัง คงอยากจะทราบกัน   คือมีผู้อยากจะให้หลวงตาบอกเคล็ดลับในการเรียนหนังสือว่า เรียนหนังสืออย่างไรจึงจะเรียนได้ผลดี   หรือว่าทำอย่างไรจึงจะเรียนเก่ง    ถ้าจะพูดภาษาธรรมดา นี่เอาจากประสบการณ์ล้วนๆ   ฉะนั้นจะเล่าเรื่องสมัยที่หลวงพ่อเรียนให้ฟังก่อนว่า
ประสบการณ์
หลวงตานั้นก็เรียนหนังสือได้คะแนนดีอยู่ในตำแหน่งที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓   นี้ค่อนข้างจะเสมอ ตั้งแต่ชั้นมัธยมมาจนถึงเตรียมอุดม   สมัยหลวงตานั้นเขาจะเอาผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดที่ ๑ จนถึง ๕๐ ติดป้ายประกาศไว้เรียกว่า  ติดบอร์ด    ทั้งที่กระทรวงศึกษาธิการและที่มหาวิทยาลัย  หรือมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ มีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นต้น  ติดไว้อย่างนั้น   ผลการศึกษาของหลวงตาก็มีลดไปบ้างเหมือนกัน   แต่ว่าส่วนมากก็จะอยู่ภายในที่ ๙  เท่าที่คิดระลึกจำได้
เมื่อมาเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว   หลวงตานั้นสมัยนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดให้เรียนได้โดยไม่จำกัด  ใครหัวดีหรือใครมีความสามารถก็เรียนได้หลายสาขา   หลวงตาก็เรียน ๒ สาขาพร้อมกัน คือสาขาพานิชยศาสตร์กับบัญชี   ปรากฏว่าสำเร็จในระดับปริญญาตรีพร้อมกัน ๒ ครั้ง    เรียกว่าไปรับปริญญา ๒ ครั้ง  กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    แต่สมัยนั้นยังไม่มีการให้เกียรตินิยม พวกเรารุ่นนั้นจึงไม่ได้เกียรตินิยมกัน   ถ้าจะเอ่ยชื่อนักเรียนรุ่นนั้น  ท่านทั้งหลายคงจำไม่ได้ แต่ถ้าจะเอ่ยสักคนหนึ่งซึ่งไม่ได้เจตนาไปเทียบเคียงกับเขา   แต่จะเล่าให้ฟังว่ารุ่นหลวงตาน่ะรุ่นไหน  ก็อาจจะพอนึกได้คือรุ่นศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี  ที่เคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นประธานหรือนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั่นเอง    นี่คือรุ่นเดียวกันกับหลวงตา



ครั้นเมื่อถึงการศึกษาขั้นปริญญาโท   สมัยนั้นจึงมีเกียรตินิยม หลวงตาก็สอบได้ และทำวิทยานิพนธ์เสร็จ ก็ได้เกียรตินิยมสาขารัฐประศาสนศาสตร์คือการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีวิชาที่สนใจเป็นพิเศษคือระเบียบวิธีการวิจัยและประเมินผล ก็ทำได้คะแนนดี จึงได้ถูกแนะนำตัวไปทำงานในหน้าที่นักวิจัยที่สำนักงานของรัฐบาลต่างประเทศมหาอำนาจแห่งหนึ่งในประเทศไทย จนกระทั่งมาตั้งใจวางแผนที่จะบวช ๑๐ ปีก่อนบวช และตัดสินใจบวชเพื่อปฏิบัติพระศาสนาเมื่ออายุ ๕๗ ปีเต็ม ลาออกจากราชการต่างประเทศนั้นก่อนเกษียณ ๓ ปีเพื่อมาทำหน้าที่นี้ให้สมบูรณ์ ดังที่เธอทั้งหลายได้เห็นอยู่นี้
และแม้กระนั้นหลวงตาก็ยังไม่หยุดยั้งจากการเรียนหนังสือ คือเป็นทั้งครูสอน เป็นทั้งอาจารย์บรรยายพิเศษในมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท มาตลอด ปริญญาโทนั้นสอน ๔ ปีก่อนบวช แต่เมื่อบวชมาแล้วก็ยังต้องเรียนอยู่อีกจนกระทั่งบัดนี้ ทั้งเรียนทั้งสอน แปลว่าเป็นผู้สอนและก็เป็นนักเรียนหรือนักศึกษามาตลอด เพราะฉะนั้นจึงเข้าใจจิตใจของนักศึกษาหรือครูอาจารย์และนักเรียนได้ดี เพราะว่าหลวงตาก็ยังมีลูกหลานในระดับพวกเธอ ก็ในระดับหลานมีอยู่ แต่ก็หลานก็ไม่โตถึงขนาดนี้หรอก แต่ก็ใกล้ๆ แล้ว
เคล็ดลับการเรียนดี
 
ทีนี้ ก็มาบอกเคล็ดลับว่าทำไมถึงเรียนดี และแม้ว่าเมื่อไปเรียนในต่างประเทศ ในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ หลวงตาก็ได้คะแนนเกรดเอ เอบวกบ้างบางวิชา เอลบบ้าง เอเสมอๆ ตัวบ้าง บีบวกบ้าง ได้เป็นประจำ เคล็ดลับมีอย่างนี้
๑) เอาใจใส่ในบทเรียน หมายความว่าติดตามอยู่ตลอด ถึงเราไม่ได้ไปเรียน ก็ต้องทำให้ครบ การจดเลคเชอร์ต้องจดเร็ว แล้วก็ทำให้ทัน หมายความว่า แต่ละวิชาที่เรียนจะต้องทำให้ทันหมด การบ้านทำให้ทันตลอด นี่เรื่องเอาใจใส่และก็ทำให้ทันก่อน นี่พูดเรื่องประเด็นนี้ก่อน เอาใจใส่แล้วก็ทำให้ทัน
ยกตัวอย่างเช่น การเรียนภาคคำนวณ การบ้านทำให้ทันหมด นี่เอากันเรื่องใจจดจ่อ ถ้าว่าวันไหนไม่ได้ไปเรียน ต้องไปขอเพื่อนเอามาจดให้ได้เต็ม พูดอย่างง่ายๆ ว่า เรียนแต่ละวิชาเราไม่มีขาดตกบกพร่อง เอาใจใส่อยู่อย่างนี้ นี่พูดเรื่องจุดตรงนี้ก่อน
ในสมัยที่หลวงตาเรียนอยู่เตรียมอุดมศึกษาที่จังหวัดนครราชสีมา คำนวณทั้งหมดหลวงตาทำตลอดไม่มีเว้น ครูให้ข้อคี่บ้าง ข้อคู่บ้าง ก็ทำไม่มีขาดตกบกพร่อง แล้วแถมเพิ่มถ้าเขาให้ข้อคู่เราก็ทำทั้งคู่และคี่ ถ้าเขาให้ข้อคี่ เราก็เลือกทำทั้งข้อคี่ทั้งหมดและข้อคู่ที่ยากๆ เป็นต้นทั้งหมด เพราะฉะนั้นการคำนวณ วิชาคำนวณหลวงตาจึงไม่มีขาดตกบกพร่อง จนแบบฝึกหัดการคำนวณต่างๆ สมัยนั้น มีพีชคณิต เลขคณิต เรขาคณิต เป็นต้นนั้น สมุดของหลวงตานั้น ครูได้เก็บไว้ใช้สำหรับเป็นคู่มือในการเอามาสอน จริงอยู่มีการทำผิดบ้างเหมือนกันแต่น้อย ส่วนใหญ่จะถูก แล้วไม่มีขาดตกบกพร่อง
คนที่เรียนเก่งคำนวณได้เป็นอันว่าเป็นคนมีเหตุมีผล เพราะคำนวณนั้นเป็นหลักการอย่างมีเหตุผล เพราะฉะนั้น เฉพาะเรื่องนี้เรื่องเดียว ทำให้เราเป็นคนมีปัญญา ลับสมองของเราด้วยการคำนวณ ยิ่งเรขาคณิตสมัยนั้น พีชคณิต และแม้เลขคณิต มันช่วยให้พัฒนาสติปัญญาของเราอย่างดีที่สุด จึงอย่าขาดตกบกพร่อง ถ้าใครที่เรียนไม่เก่งนี่เราเห็นได้เลย คือขาดตกบกพร่อง ทำไม่ทันบ้าง ขี้เกียจบ้าง ไม่ตั้งใจ
๒) ความตั้งใจ คือว่าความตั้งใจฟัง ตั้งใจฟังนั้นใช้สมาธิเลย มันเป็นมาตั้งแต่เด็กๆ เมื่อเขาสอนการคำนวณเป็นต้น ตาเรานี่แป๋วเลย เข้าใจหมด ถ้ามีอะไรสงสัยถามเลย   เพราะฉะนั้น ความสงสัยของหลวงตาในภาคคำนวณ   นี่ยกเรื่องคำนวณมาเป็นตัวอย่างก่อน  เกือบจะเรียกว่าไม่มีเลย
เมื่อมีความเข้าใจแล้ว มันซาบซึ้งเข้าไปในหัวใจ   วิชาคำนวณไม่ต้องท่อง มีแต่สูตรเท่านั้นต้องท่อง ท่องสูตรเมื่อเราจำได้และเราเข้าใจแล้วยิ่งง่ายเข้าไปอีก จนถึงขนาดรู้วิธีเรียนลัด บวก ลบ คูณ หาร คำนวณวิธีลัดก็ทำได้ด้วยประสบการณ์ของตนเอง และด้วยได้ยินได้ฟังเคล็ดลับจากผู้อื่น เรื่องโจทย์เลขบางที ๒ บรรทัดเท่านั้นบางทีไม่ถึง ๓ แต่มันทำยากบรมเลย แต่เราสามารถขบปัญหาแล้วก็ทำได้
เพราะฉะนั้น เมื่อถึงคราวสอบ เธอจำไว้เรื่องคำนวณอย่างเดียวนี้ พูดเรื่องคำนวณอย่างเดียวก่อน เมื่อเราตั้งใจฟัง เข้าใจไปตลอดหมด   การคำนวณนั้นเกี่ยวพันกันเหมือนลูกโซ่ เมื่อเข้าใจพื้นฐานมันเข้าใจไปได้ตลอด แต่ไม่เข้าใจพื้นฐานหรือกลางๆ แล้วไอ้ที่จะไปต่ออีก เป็นอันไม่เข้าใจ เมื่อไม่เข้าใจก็ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายขี้เกียจทำการบ้าน แล้วยิ่งข้อสอบออกมายากๆ ทำไม่ได้ สอบตกเข้าไปอีก เสียใจ ท้อใจ เพราะฉะนั้นเคล็ดลับจึงอยู่ตรงนี้ว่า ต้องทำให้ทัน เมื่อทำทันแล้ว หนึ่ง เราเข้าใจดี สอง เวลาสอบ เราสอบได้คะแนนดี กำลังใจมันมา ลองมันสอบที่ ๑ ที่ ๒ แล้ว มันตกไม่ได้แล้ว มันต่ำก็ไม่ได้ จะต้องดำรงอยู่อย่างนั้น นี่ให้จำไว้ ผลมันออกมาแล้วมันมารับกับความรู้สึกของเราอีกทีหนึ่ง
เพราะฉะนั้น หลวงตาก็เป็นที่เลื่องลือ พูดไปทำไมมีว่าเป็นคนเรียนเก่ง โดยวิธีนี้ เอาใจใส่จดจ่ออยู่ ไม่ให้พลาดล่ะบทเรียนทุกอย่างทำความเข้าใจอยู่ตลอด นี่ว่าเฉพาะเรื่องคำนวณก่อนแล้ว เมื่อเราทำอะไรๆ ทันหมดแล้ว
อีกอย่างหนึ่งคือ ความตั้งใจนี้ด้วย  สมาธิจิตไม่วอกแว่ก ไม่เหลวไหล เพราะฉะนั้น เราจะเข้าใจบทเรียนนี่ไปตลอด เวลาสอบนี่เธอทราบไหม หลวงตาสบายที่สุดคือวิชาคำนวณ ทำไมมันถึงสบาย เพราะไม่ต้องท่อง ท่องแต่สูตร สูตรหน่อยเดียว สอบออกมาคะแนนหรูเลย มันถึงติดบอร์ด นี่ว่าเฉพาะคำนวณอย่างเดียว
ทีนี้ จะพูดเรื่องคำนวณนี่แหละตลอดมาจนถึงการเรียนมหาวิทยาลัย หลวงตาเรียนวิชาบัญชี บัญชีนั้นแน่ละ การ post บัญชีหรือการแสดงรายการในบัญชีนี่มันต้องมีเหตุผลตลอด ไม่ว่าจะ post เป็นเดบิต เป็นเครดิต มีเหตุผล ทำไมถึงมา post ตรงนี้ ทำไมไม่ไปตรงนั้น ทำไมต้องมานี่ แล้วทำไมต้องจากนี้แล้วไปโน้น แล้วลงท้ายต้องทำ balance sheet จนกระทั่งได้จำนวนเสมอกันหมด เท่ากันหมด ถ้าพลาด พลาดตัวเดียวบวกเลขผิด ตัวเดียวมันก็ไม่ลงตัวแล้ว บัญชีบางทีมันเป็นสิบๆ เป็นหลายสิบ แล้วรวมเสร็จมาแล้วจะต้องได้ balance คือว่าได้เสมอกัน ถ้าทำไม่ดีก็ไม่ balance เพราะฉะนั้นการบัญชีเป็นวิชาที่ว่าด้วยเหตุผล หลวงตาก็ทำตลอดรอดฝั่งด้วยวิธีเดียวนี่แหละ
ตำราบัญชีเมื่อมาเรียนชั้นปีที่ ๑ เป็นภาษาอังกฤษหมด ต้องสั่งจากลอนดอน เป็นภาษาอังกฤษหมด ไม่มีภาษาไทย เราก็อ่านทะลุไปทั้งภาษาอังกฤษ ตั้งแต่มันงูๆ ปลาๆ อ่านไม่ค่อยรู้จนกระทั่งมันรู้แหละ รู้กระทั่งตีความเนื้อความในภาษานั้นแหละ เราทำอย่างนี้ด้วยใจจดจ่อ ไม่ทิ้งนะ จี้เลย ยิ่งอะไรยากนี่เป็นครู อีกอันหนึ่ง ให้จดไว้เลย อะไรยากทำอันนั้นให้ทะลุ ถ้าภาษาพระเรียกแทงตลอด ถ้าภาษาธรรมดาก็ให้แจ่มแจ้งในวิชานั้น เป็นพระเอกเรื่อยไป เพราะวิชาง่ายๆ ธรรมดา ใครก็ทำได้ มันไปแพ้กันวิชายากๆ เรื่องยากๆ ต้องให้แจ่มแจ้งให้ทะลุให้ได้ พอได้แล้วเป็นคนมีกำลังใจ แหมอะไรที่เราไม่รู้แทบไม่มี   นี่ต้องอย่างนั้นทีเดียว
เพราะฉะนั้น เคล็ดลับหลวงตาในเรื่องการคำนวณเรียนอย่างนี้ ทีนี้ ในเรื่องวิชาอื่นที่ไม่ใช่วิชาคำนวณ ต้องใช้ทั้งความเข้าใจและความจดจำ ๒ อย่างรวมกัน เช่น วิชาที่เข้าใจได้ไม่ยาก แต่ต้องจดจำมาก เรื่องยากที่พวกเธอทั้งหลายอาจจะต้องเผชิญคือภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่เธอต้องเรียนพิเศษ รักวิชานั้นซะ วิชาอะไรยากจงรักวิชานั้น ฉันทะ ความรัก นี่แหละสำคัญ นี่ลงไปเรื่องอิทธิบาท ๔ แล้วก็ วิริยะ ความเพียรเอาจนทะลุ จนแจ้งจนได้ ท่องให้ได้ จิตตะ จดจ่อนะ วิมังสา พิจารณาให้ดี โดยเฉพาะเรื่องคำนวณหรือเรื่องยากๆ
เพราะฉะนั้น ต้องปลูกฉันทะนะ ถ้าเบื่อเมื่อไรแล้วก็เรียนไม่ได้เลย ที่นักเรียนทำไม่ได้เพราะเบื่อ ไม่ชอบ นั่นตามใจตัวเอง หลวงตาอะไรว่ายาก หลวงตารักวิชานั้น ภาษาอังกฤษเรียกว่ายากๆ กันหลวงตารักวิชาภาษาอังกฤษ ไม่รู้ล่ะ ไปไหนก็นึกเขียน พยายามเรียนให้เข้าใจเรื่อง grammar ผูกประโยคอย่างไร ประธาน กิริยา กรรมตั้งอย่างไร ต้องผันกิริยาไปอย่างไร มีสูตรนี่ ท่องให้จำ แล้วทีนี้ยังมีเคล็ดลับย่ออีกว่า ภาษาอังกฤษมีศัพท์สำนวนที่ต้องใช้บ่อยๆ แต่มีไม่มาก ท่องศัพท์ในหมู่คำนั้น ทีนี้ แหละใช้ได้ นี่เป็นเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่ง
เพราะฉะนั้น อย่างเรื่องภาษาสมัยหลวงตาเรียนมาถึงเตรียมอุดม เรียนใช้หนังสือที่มีสำนวนค่อนข้างยาก invisble man สำนวนยาก เราเรียนอย่างนั้น ก็เรียนจนทะลุแหละ ต้องแจ่มแจ้ง เวลาสอบมาคะแนนภาษาอังกฤษเราลอยลำสบายมาก
เพราะฉะนั้น ๑) เราต้องเก่ง grammar ๒) ต้องท่องศัพท์ต่างๆ ให้สมบูรณ์สำหรับคำที่ต้องใช้บ่อยๆ ๓) composition การแต่ง หัดแต่งเลย ไปตรงไหนหัดเขียน อ่านออกเขาตั้งประโยคอย่างนี้ ประธานอยู่นี่ กิริยาอยู่นี่ กรรมอยู่นี่ แล้วสำนวนอย่างนี้แหมไพเราะ เอาละเขียนเลย พอใจมันชอบแล้วนี้เขียน จะไปไหนล่ะพอออกสอบมาเสร็จเรา ภาษาอังกฤษใครตกเราได้ ได้คะแนนดีด้วย
ส่วนวิชาอื่นล่ะ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หรือวิชาอะไรๆ ก็แล้วแต่ ด้านสังคมศาสตร์ทั้งหลายต้องจำอย่างเดียว ตรงนี้หลวงตามีเคล็ด ไอ้เรื่องที่ต้องจำน่ะ

 
การอ่านบทเรียนมาล่วงหน้า และจดเลคเชอร์
สมมุติพรุ่งนี้ครูจะสอนวิชานี้ไปกี่บท เช้านี้ตี ๔ ดูซะ ดูไปผ่านๆ   ต้องมีวิริยะ หรือวิชาอื่นที่ว่ายากก็เหมือนกันนะ ทำแบบเดียวกันนะ  จะสอนอะไรดูผ่าน ได้เปรียบไปครึ่งหนึ่ง   ดูไว้ก่อน ไม่ว่าเรื่องอะไรดูไว้ก่อน แต่คำนวณนี่ดูไปมันไม่ค่อยเข้าใจนัก แต่ก็พอเข้าใจบ้าง แต่วิชาทั่วไปอื่น จะเป็นวิทยาศาสตร์ก็ตาม สังคมศาสตร์ก็ตาม ดูไว้ก่อน  พอดูไว้ก่อนถึงเวลาเรียนมันก็เข้าใจ แต่ตอนนั้นครูจะบอกเคล็ดลับอย่างโน้นอย่างนี้ เรื่องสำคัญๆ เราโน๊ตย่อไว้  โน๊ตไว้นี่แหละ จดเลคเช่อร์ต้องฝึกจด จดให้เร็ว   หลวงตานั้นจดจนถึงขนาดว่ามาเรียนธรรมศาสตร์ยุคนั้นนักศึกษาเยอะ ห้องยาว เปิดตั้ง ๒-๓ ห้อง มองดูไม่เห็นตัวหนังสือ มองไม่เห็นว่าเขียนว่าอะไร บางทีมาไม่ทันเขา โต๊ะเราหายไปแล้ว ต้องยืนข้างระเบียงคอยฟัง แต่จดโน๊ตนี่ต้องจดเลย เลขหัดจดให้เร็ว ประเด็นสำคัญๆ จดหมด นี่จำไว้จดโน๊ต เขียนเลย จดมาจากภาษาอังกฤษว่า jot note เขียนให้เร็วอย่าไปต้วมเตี้ยม
เมื่อเขียนแล้วตอนเช้าอ่านคร่าวๆ ไปก่อน แล้วเมื่อถึงห้องเรียนต้องจดบันทึกแล้ว กลับมาตอนเย็นทำโน๊ตย่อ ตรงนี้แหละเสร็จเรา การบ้านกี่ข้อกี่ข้อทำไป แล้วเรื่องวิชาที่ยากๆ หรือมากเอามาทำเป็นโน๊ตย่อ ยากหรือมาก มากต้องจำมาก ทำโน๊ตย่อ
หลวงตาทำโน๊ตย่ออย่างนี้ กระดาษฟูลสแก็ป เหลาดินสอให้แหลม อ่านบทเรียนที่ครูสอน แล้วดูโน๊ตย่อของเราให้เข้าใจว่า มีเคล็ดลับอะไร อ่านจบแล้วก็เขียนย่อ เขียนย่อนี้เขียนถึงความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องในนั้น เช่นว่าเรื่องนี้มีรายละเอียดอย่างนี้ ข้อหนึ่ง ข้อสอง ข้อสาม บางทีเขาไม่ได้เขียนเป็นข้อ เขาเขียนเต็มพรืดไปเลย เราก็ขีดเส้นใต้ในประเด็นสำคัญๆ ขีด ขีด เขาเรียกควงเลข เขียนเลขไว้เบาๆ นี่ข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ เขียนแล้วประเด็นสำคัญเขียนหมดแล้ว เสร็จแล้ว ทีนี้มาเขียนใส่กระดาษฟูลสแก็ป บทที่หนึ่งเรื่องอะไร แล้วเรื่องนั้นมีหัวข้อต่างๆ ที่เป็นเนื้อหา หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อยที่เป็นเนื้อหาอย่างไร เราเขียนถึงกันหมด บางทีหัวข้อนี้ไปสัมพันธ์ถึงหัวข้อโน้นอย่างไร เราก็เขียนเส้นโยงกัน เห็นกันได้ เขียนตัวเล็กๆ ที่เราอ่านออกชัดด้วยดินสอก๊อปปี้ ทำไมใช้ดินสอก๊อปปี้ มันไม่ลบ นี่มันเคล็ดลับไปถึงโน่น มันไม่ลบ และไม่หักง่าย ก็เขียนดินสอก๊อปปี้
บทหนึ่งหนาตั้ง ๑๐-๒๐ หน้าเราย่อมาเหลือเพียงซัก ๑ นิ้วของกระดาษฟูลสแก๊ปหรือ ๒ นิ้วก็ได้ นิดเดียวเอง เท่านั้นน่ะ ย่อไว้อ่านไปแล้วนี่ ฟังนี่ ฟังบทเรียนจากครู แล้วอะไรเคล็ดลับของครูเราก็เก็บด้วยการโน๊ตย่อ แล้วก็ตกเย็น เมื่อทำการบ้านเสร็จต้องมาอ่าน แล้วเขียนโน๊ตย่อ ตรงนี้ต้องขยัน ต้องเขียนทุกวัน ถ้าเว้นต้องเขียนใช้หนี้ พอเขียนจบหมดทั้งเล่มอาจจะใช้เพียงแผ่นเดียวหรือ ๒ แผ่น อย่างมาก ๓ แผ่น นี่หลวงตาเรียนกฎหมาย เธอรู้หรือเปล่ากฎหมายหนาเท่านี้ต่อเล่ม เท่านี้อย่างมากก็ ๒ แผ่นครึ่ง ๓ แผ่น ต้องวิชามากๆ หลายเล่มนะ ผลดียังไงเธอลองนึกดู
หนึ่งนี่หลวงตาเรียนกฎหมาย กฎหมายหลายฉบับเลยทีเดียวเวลาเรียนมหาวิทยาลัย หรือเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยม ตั้งแต่เตรียมอุดมเป็นต้นมา วิชาสำคัญๆ เราทำโน๊ตย่อ ตื่นเช้าเราดูแล้ววิชาที่ครูจะสอนมันเข้าใจไปส่วนหนึ่งแล้ว พอไปถึงครูสอน แหมแจ่มแจ้ง ถ้าสงสัยนิดหน่อยถาม แล้วครูหรืออาจารย์เขาบอกเคล็ดลับอะไรเราจดไว้ เอาใจใส่ก่อนเข้าเรียน ขณะเข้าเรียน แล้วหลังเรียนเรายังมาทำ short note อีก short note นี่ดีนะ ดีมากเลย วิเศษที่สุด ไม่ต้องดูหนังสือ ทำอย่างนี้ไปทั้งปี
การเตรียมตัวสอบ
พอถึงเวลาใกล้สอบมันเข้าใจอยู่แล้ว จำเกือบหมดแล้ว พอถึงเวลาจะสอบเหลือเวลาประมาณ ๑ เดือนจะสอบ เริ่มวางแผนการสอบ จำไว้ ใกล้แล้ว ๑ เดือนจะสอบ วางแผนเลยว่าวันที่เท่านั้นๆ จะอ่านหนังสืออะไรทบทวนหนังสืออะไร เตรียมเลย เป็นตารางสอนของเราเอง ทั้งนี้พิจารณาว่า เวลาครูเขาให้ไปเรียนกับเขาเท่าไร เหลือเท่าไร เราต้องวางแผนหมด วิชาไหนยากใช้เวลามากกว่า วิชาไหนน้อยใช้เวลาน้อยกว่า อันไหนจะดูตอนเช้า อันไหนจะดูตอนหัวค่ำ อันไหนจะดูกลางวัน ทำไว้เลย พอทำไว้แล้วเดินตามนั้นไม่พลาด ไม่ต้องเอาหนังสือทั้งเล่มมาดู หลวงตาเอากระดาษฟูลสแกปนั่นนะ มันง่ายนิดเดียวถ้าว่าอยากจะรู้รายละเอียดก็ไปเปิดดูหน่อย ถ้าเข้าใจแล้วแค่นี้ก็จำได้ ดูแค่นี้แหละจนกระทั่งถึงวันสอบ ใกล้จะถึงวันสอบวันหรือสองวันตรงนี้พักได้ นอน วันหรือสองวันทำให้สบาย อยากจะดูก็ยกมาดูคร่าวๆ ลองนึก
วิธีดูหนังสือดูอย่างนี้ จะให้จำน่ะ ถ้าเป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ ดู อ่านจบ ปิด เราลองว่าดูซิว่าได้ไหม ว่าได้ ว่าได้เป็นอันใช้ได้ ว่าปากเปล่า พูดไป หรือวิชายากหน่อยก็ไม่เป็นไร แบบเดียวกัน อย่างวิทยาศาสตร์นี่แบบเดียวกัน เราท่องสูตรท่องอะไรต่ออะไร ดูแล้วก็เป็นบทๆ แล้วก็ปิดหนังสือว่าไป เสร็จเราแบบนี้ ยิ่งทำโน๊ตย่อแล้วสบายเลย ยกมาดูหน่อยเดียวจำได้แล้ว วางพับสบายมาก มองเห็นเลย พอจะพูดวิชานี้ข้อนี้มองเห็นเลย เห็นไหมล่ะ เพราะฉะนั้น ก่อนสอบวันสองวันพักให้สบาย ถ้าสงสัยก็หยิบมาดูหน่อย บางทีเรานั่งสงสัยหน่อย เดินๆ เรานึกถึงเรื่องนั้นโอ้ยาก ไอ้เรื่องยากนิดหน่อยอย่างนี้ลืมไป ไปเปิดดูหน่อย ก็จำได้
หลวงตาจำได้ว่าจะบอกเรื่องการสอบ ๒ ระยะ ระยะที่หนึ่งเรื่องการสอบที่เตรียมอุดมปีที่ ๒ ซึ่งยากมาก ตกกันระนาวเลยล่ะ แต่หลวงตาสบาย ทำแบบนี้สบายมาก เพื่อนหลวงตาเขาเป็นผู้ว่า เดี๋ยวนี้เขาปลดเกษียณแล้ว เพื่อนหลวงตามีเยอะ พวกนี้หนักๆ เข้าต้องไปเรียนทางด้านสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ท่องหนังสือจนแกเดินนี่จะชนหลวงตาแกยังมองไม่เห็นหลวงตาเลย คือมันงง มันเดินไปก็เหมือนหุ่นยนต์ ท่องหนังสือไม่รู้แหละ ไม่หลับไม่นอน มันก็เบลอหมดซิ ท่องเลขพีชคณิต เรขาคณิต แกท่องได้อยู่ในตัวหมด บางทีเรานึกถามแกว่านี่ แกชื่อสมบูรณ์นะ เอ็งว่าไงข้อนี้ตอบคะแนนเท่าไร ทำยังไง มันบอกเลยมันโป๊ะเลย อยู่หน้านั้นด้วย มันท่องถึงขนาดนี้ เขาท่องกันขนาดนี้ผลออกมายังไง สอบคำนวณตก ตก เกือบตกหมดนั่นน่ะ เพราะใครเขาจะไปออกตามตำราล่ะ สมัยก่อนเตรียมอุดมปีที่ ๒ เข้มปรี๊ดเลยนะจะบอกให้ เขาออกมาพลิกแพลงจากโจทย์เดิมที่มีอยู่ในตำรา หลวงตาบอกเรียนเข้าใจดีนี่ เข้าใจก็ง่าย ออกมาเราขบปัญหาปุ๊บทำ หลวงตาได้เลย ก็รู้สึกจะเกือบเต็ม เรขาได้เต็มเลยสบายดีมาก เพราะเรขานี่มันพิสูจน์นี่ พีชคณิตก็ตกไม่เท่าไร นี่อย่างนี้ เพราะฉะนั้นทำไมเราทำได้ ไปถึงห้องสอบมันไม่เบลอ คนจะมุจนจะเอาตาย ๒-๓ วันก่อนสอบ ยิ่งดูใหญ่เลย ไม่หลับไม่นอน เสร็จ นั่นแหละทำไม่ได้ เวลาเขาพลิกแพลงหน่อยหัวไม่ไหวแล้ว เช่นเดียวกัน
จะบอกด้วยนะ หลวงตาเรียนมหาวิทยาลัยเรียนด้วย ทำงานด้วย มีครอบครัวด้วย แล้วเรียนได้ ๒ ปริญญาแน่ะ ทำได้ไงของประหลาดไหมล่ะ เพราะมันเหตุนี้ วิธีนี้ มีครอบครัวด้วย ปีที่ ๔ นะ โยมคลอดลูกสาวคนโต กำลังจะไปสอบโยมคลอดลูกแล้ว นี่เห็นไหมล่ะก็ใช้วิธีนี้ บางทีว่างๆ ก็ไกวเปลดูหนังสือด้วยได้ เหมือนกันทำได้เหมือนกัน เรื่องจริงนะ พูดนี่เอาเรื่องจริงมาพูด หลวงตาทำได้เพราะ เหตุนี้ วิธีการหนึ่ง แล้วสมาธิหนึ่ง สมาธินี่ใจมันจะจดจ่อ เดี๋ยวเดียวจดจ่อ ต้องแทงตลอด ทะลุคือเข้าใจแจ่มแจ้ง เท่านี้แหละ แล้วต้องเอาจริงไม่ทอดทิ้งน่ะ อย่าไปเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายไม่ได้ ตื่นเช้าหลวงตาสบายมากจะไปสอบ กินข้าวเสร็จก็ไปละ สมัยก่อนมีรถรางมันช้า เต้งๆๆๆ มันไม่ถึงซะที อยู่บ้านบางซื่อจะไปสอบท่าพระจันทร์ โน่นแน่ะ รถมันไปตั้งแต่บางซื่อไปบางกระบือ เอ้าต่อเปลี่ยนรถรางสับเปลี่ยนตรงศรีย่านไปบางลำภู แล้วต้องเลี้ยวไปอีก ไปท่าพระจันทร์โน่นกว่าจะถึง เอาใหม่นั่งรถตุ๊กๆ สามล้อ ตื่นเช้าน่ะกินอาหารแต่เช้า เขาสอบเขาเริ่มสอบ ๙ โมงเช้าสบายมาก นอนให้หลับสบาย ตำรากฎหมายเป็นตั้งๆ ไม่เป็นไรทำโน๊ตย่อไว้แล้ว บางคนหอบหนังสือเป็นกะตั้ก หลวงตาน่ะทำกระดาษฟูลสแก๊ปม้วนกันหน่อยแล้วไปสอบสบายมาก พอไปถึงต้องหนี เพราะว่าเพื่อนจะมารุมถาม ต้องหนีไปแอบตามซอก นั่งเฉยดูคลี่ดูกระดาษของเรา ดูๆๆ เสร็จเรา จะไปไหน หลวงตาผ่านทุกปี ทุกชั้น มีวิชาเดียวที่สอบตก หนเดียวล่ะ กฎหมายมันบางๆ กฎหมายลิขสิทธิ์ในวรรณกรรมและศิลปกรรม มีอยู่ประมาณสัก ๑๐ แผ่นเห็นจะได้ มันท่องได้หมดเลยไม่ได้เข้าห้องเรียน ที่แท้เวลาเขาเรียนเขาสอน เขาเอาคดี ผลการวินิจฉัยคดีจากศาลฎีกานี่เอามาสอน เราไม่เคยเข้าเรียน เรานึกว่าโธ่แค่นี้เรื่องจ้อย เรื่องใหญ่กว่านี้สำคัญบางทีบางวิชาเราก็ไม่ได้เข้าซะ ภาษาอังกฤษนี่หลวงตาเกือบจะไม่เข้าเลย เกือบจะไม่รู้จักกันเลยครูอาจารย์ เขามีตำราก็เอาชีทมาดู ดูเสร็จแล้วเสร็จเรา ทีนี้ ไอ้นี่เราก็นึกว่าเสร็จเราเหมือนกัน ที่ไหนได้สอบปุ๊บตกปั๊บเลย สอบตกเลย พอตกอ๋อ ไอ้นี่เองทำข้า ตกหนเดียวเสียประวัติ ประวัติ คือธรรมศาสตร์นี่เขาให้สอบสองครั้งนะ สอบครั้งที่หนึ่งใครถือว่าคือสอบได้หมดทุกวิชานี้ไม่มีตกเลย ข้างนี้ ๑๒ วิชา ข้างนี้ ๑๒ วิชา รวมเป็น ๒๔ วิชา เธอนึกดูนะไม่ใช่เรียนน้อยๆนะ ๒๔ วิชาต่อหนึ่ง semaster ต้องได้พรึ่บๆๆ ขึ้นมาเรื่อยเลย แล้วก็นั่นแหละที่เอ่ยชื่อเขามานะ นั่นนะเป็นแก๊งเรียนเก่งทั้งหมดเลย เรียนเก่งคะแนนสูง แต่เขาไปเรียนทุกวัน ไอ้เรามันเรียนด้วยทำงานด้วย แถมยังมีครอบครัวด้วย นี่หลวงตาก็ทำได้อย่างนี้

 
ทีนี้ หลวงตาก็ใช้วิธีนี้แหละไปแอบดูหนังสือเข้า นิดเดียวเองนะ พอเสร็จแล้วพอจะเข้าสอบ แหม เอ็งพากันไปอยู่ที่ไหนไม่เห็น เพื่อนๆ มารุมด่า ไม่เป็นไรด่าเราก็เฉยยิ้มเรื่อยไป ก็สอบได้ มันตกวิชาเดียว ไอ้วิชานี้สอบตก เพราะฉะนั้นต้องเข้าเรียน อ๋อ เข้าเรียนเขาเรียกว่าออกโจทย์ตุ๊กตา โจทย์ตุ๊กตาคือเป็นปัญหาจากคดีความที่เขาพิจารณากันในชั้นศาลฎีกา แล้วผลเป็นอย่างไร ผิดถูกเอาผลนั้นวินิจฉัย ผิดก็ผิด เราได้เคล็ดลับ หลวงตาก็เลยวิชานี้ก็ท๊อปในการสอบ semaster ที่สอง ท๊อปก็เลยจบจากชั้นปีที่ ๒ พอปีที่ ๓ เขาเชิญเป็นติวเตอร์วิชากฎหมายวิชานี้ตลอด แล้วก็เป็นวิชาที่ได้เงินได้ทองพอสมควร วิชานี้ถือว่าต่อไปก็เปิดสอน ก็มีคนมาเรียนเยอะ เรียนเยอะเพราะสมัยนั้นต้องมีติว มีการติวกันก็เรียนเยอะ เพราะคนสอบตกมากเป็นกะตั๊ก บางคนติดอยู่วิชาเดียวด๊อกแด๊กๆ ๕-๖ ปี
เพราะฉะนั้น นี่ก็เลยสรุปให้พวกเธอทั้งหลายฟัง กล่าวเบ็ดเสร็จว่า ๑) ต้องปลูกใจรัก ยิ่งยากยิ่งต้องรัก ต้องทำให้สำเร็จ ใจต้องเข้มแข็ง พอสำเร็จได้แล้วกำลังใจมันมา แล้วมันเป็นพื้นฐานความรู้ของเราที่จะเรียนต่อไปไม่ให้ตกต่ำ ยิ่งยากยิ่งต้องรัก ยิ่งต้องทำให้ทะลุปรุโปร่ง นี้เป็นเคล็ดลับที่หนึ่ง ๒) ต้องใจจดจ่อในบทเรียน คือต้องทำให้สมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นการบ้านหรือการอ่าน ถ้าเป็นเทอม paper ต้องทำให้สำเร็จ ถ้าเรียนสูงขึ้นมาในระดับขั้นปริญญาต้องทำ paper เป็นรายงาน ก็ต้องทำให้สำเร็จอยู่ตลอดเวลา ไม่ขาดตกบกพร่อง โน๊ตย่อต้องพร้อม ต้องไม่มีขาดตกบกพร่อง การบ้านก็ต้องไม่มีขาดตกบกพร่อง นี่แหละจดจ่ออย่างนี้
แล้วก็จดจ่ออีก จะเรียกว่าความตั้งใจก็ได้ สมาธิก็ได้ เป็นข้อที่ ๓) ขณะเมื่อฟังบทเรียนเหมือนเธอฟังหลวงตา ตั้งใจฟังว่าหลวงตาจะพูดประเด็นไหน ให้ทะลุได้ ให้แจ่มแจ้งให้ได้ ถ้าสงสัยถาม เพราะฉะนั้น เข้าใจด้วย แล้วก็ติดตามการเรียนให้สมบูรณ์ด้วย
ทำ jot note
ทีนี้ อีกข้อหนึ่ง วิธีการเรียนให้เข้าใจและจำได้ตลอดด้วย วิธีการทำ jot note แต่ก่อนจะทำ jot note ในขณะที่ครูสอน ตื่นเช้าอ่านล่วงหน้าตี ๔ หลวงตาตื่นตี ๔ ตอนเรียนหนังสือตื่นตี ๔ มา อยู่นครราชสีมาหน้าหนาวหนาวจัด บางทีต้องก่อไฟผิงดูหนังสือ ตื่นมาแล้วก็ดูหนังสือ ไอ้ที่จะไปเรียนตอนกลางวัน ตอนเช้าดูแล้วก็ตั้งใจฟัง ก็เข้าใจซิทีนี้ ในขณะที่เข้าใจแล้ว ฟังนั้นต้องทำ jot note ตลอดเวลา
คำนี้มันมีอยู่ ๒ คำนะ jot note แปลว่าจดโน๊ต short note แปลว่า เขียนย่อให้สั้น ก็ใช้ได้ทั้งสองคำ
เราก็เขียน ครูสอนอะไรๆ เคล็ดลับมีเท่าไร อย่างคำนวณนี้มีเคล็ดลับเสมอเลย เราก็จดไว้ จดแล้วแม้มาเรียนถึงมหาวิทยาลัย เลคเชอร์ก็ต้องจดให้ทัน วันไหนไม่ได้ไปต้องหาเพื่อนมา ต้องทำให้ได้ ขอเพื่อนมาดู เสร็จแล้วตกเย็นการบ้านต้องทำให้เสร็จ มันรวมโน๊ตย่อที่เราทำกับบทเรียนมาอ่านแล้วเขียนโน๊ตย่อใหม่ลงในกระดาษฟูลสแก๊ป เขียนไปเรื่อยๆ มันจะไปไหนล่ะ เท่านี้ละ ทั้งเข้าใจ ทั้งจำ ทั้งเขียน ทั้งฟัง เสร็จ ได้ ไม่มีตก แล้วเรียนดีด้วย
ทีนี้ ดูหนังสือสม่ำเสมอ ไม่ต้องดูมาก เพราะเราลงทุนตั้งแต่แรก ตอนที่เราจะทำโน๊ตย่อลงกระดาษฟูลสแก๊ป เราทั้งทำความเข้าใจทั้งโน๊ตย่อ ประเด็นต่างๆ ไม่มีการยกเว้น ประเด็นสำคัญนี่มันอยู่ในโน๊ตย่อเราหมด เราเขียนไว้หมด แล้วมันจะไปไหน ถึงเวลาอ่านหนังสือก่อนสอบ ก็มีการวางแผนก่อนสอบ เหมือนตารางเรียนว่า เราจะอ่านวิชาใด เวลาไหน วันไหน กี่วัน กะให้พอเหมาะ เสร็จแล้วก็ดำเนินตามนั้นซึ่งอาจจะมีขาดตกบกพร่อง เราก็ปรับเอาได้ บางทีมันมีความจำเป็น วันนั้นวันนี้ติดโน่นติดนี่ เราก็ปรับก่อนสอบ อย่างน้อย ๒ วัน ถ้าได้ ๓ วันแล้วสวย ไม่ต้องดูหนังสือเคร่งเครียด สบาย ทำสบายๆ แล้วก็ถ้าสงสัยนึกๆ ดูโน๊ตย่อของเรามาดูผ่านๆ ตาเท่านั้นแหละ แล้ววันจะสอบนอนให้สบายเต็มอิ่ม ตื่นเช้ารับประทานอาหารให้ดีพอสบาย รีบแต่เช้าเลย ไปอ่านที่เราทำโน๊ตย่อเอาไว้ ทบทวนอีกครั้งหนึ่งจนวินาทีสุดท้าย แล้วก็วางไว้หน้าห้อง เดินเข้าไปสอบเถอะ ไม่มีพลาดละทีนี้ กลัวจะว่าแบกที่ ๑ ที่ ๒ หรือที่ ๓ อย่างมากไม่หวาดไม่ไหว ถ้ามีรางวัลก็ได้เรื่อย ทำเท่านี้แหละ เรียนถึงไหนถึงกัน หลวงตาไปเรียนถึงเมืองนอกก็ทำอย่างนี้ ทำอย่างนี้ ทำ short note ตลอดเวลา แต่ทีนี้ว่าถ้าเรียนชั้นสูงขึ้นมา ต้องเป็นคนช่างพูดหน่อย เพราะเขาจะให้ present หน้าห้อง ต้องเสนอรายงานหน้าห้อง เราต้องพูด เพราะฉะนั้นเราต้องฝึกพูด หลวงตาบอกวิธีอ่านท่องแล้วใช่ไหม อ่านบทไหนไปเขียน short note ไว้ เขียนไปในกระดาษฟูลสแก๊ปแล้วอ่าน พอจบบทปิด ลองว่าซิว่าได้ไหม ว่าได้ไม่ติดขัด ติดขัดนิดหน่อยเปิดดูนิดหนึ่ง ทีนี้ละสบาย พูดก็เก่ง ที่หลวงตากลายเป็นคนช่างพูด พูดให้เป็นน้ำเป็นเนื้อ เป็นตุ เป็นตะไป แต่พูดให้มันถูกนะ ไม่ได้ไปโกหกใครนะ นี่ต้องอย่างนี้ รับรองถ้าทำอย่างนี้ เรียนสำเร็จทะลุปรุโปร่งถึงไหนถึงไหน เรียนได้ทั้งนั้น
นี่เป็นเคล็ดลับวิธีการเรียนซึ่งจะกล่าวโดยทางธรรมก็คือว่า   ฉันทะ ต้องปลูกฉันทะ ยิ่งยากยิ่งต้องปลูก   วิริยะ ความเพียรต่อเนื่อง   จิตตะ จดจ่อ   วิมังสา พิจารณา
โดยวิธีการเรียนอย่างที่ว่า รับรองถึงไหนถึงกัน เธอเรียนถึงปริญญาเอกไม่ต้องสอบตก ทำได้ แล้วเวลาทำวิทยานิพนธ์นี่หลวงตาเลือกเอาทางด้านคำนวณ ทางด้านสถิติวิจัย เพราะมันง่ายดีไม่ต้องทำหนาๆ หลวงตาก็ไม่ได้มีนิสัยในการอ่านหนังสืออะไรมากมายหรอก แต่จดจ่อเรื่องที่เป็นแก่นสารก็เอาเป็นเอาตายเลย ต้องทะลุต้องแจ้งกันเลยตรงนั้น แล้วก็เป็นอันได้ จะไปไหนนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น